การสร้างบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ไม่ใช่จะสามารถสร้างบนพื้นที่ใดก็ได้ ต้องสร้างในโซนสีที่กฎหมายผังเมืองอนุญาตเท่านั้น โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมเพราะมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยตรง กฎหมายผังเมืองในแต่ละจังหวัดนั้นมีความแตกต่างกันผู้ประกอบการจึงต้องศึกษาข้อมูลพื้นที่ที่ต้องการสร้างโรงงานว่าอยู่นโซนสีที่อนุญาตให้สร้างโรงงานหรือไม่
กฏหมายผังเมืองคืออะไร?
กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง เป็นกฎหมายที่ควบคุมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งจะกำหนดความเป็นอยู่ของคนในเมืองนั้น ๆ โดยจะกำหนดเส้นทางและถนนให้เป็นระเบียบเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งกฎหมายผังเมืองจะกำหนดไว้ว่าพื้นที่ไหนสร้างอะไรได้บ้าง ห้ามสร้างอะไรบ้าง หรือสร้างได้แต่จำกัดความสูง รวมทั้งพื้นที่ในแต่ละโซนสีนั้นยังมีผลต่อราคาที่ดินในการซื้อขาย
โดยผู้ประกอบการหรือประชาชนทั่วไปสามารถเปิดดูกฎหมายกันได้ที่ เว็ปไซต์ของกรมโยธาธิการและผังเมือง “http://www.dpt.go.th/”
โซนสีพื้นที่ผังเมืองทั้งแบ่งได้ 10 ประเภท
- พื้นที่สีเหลือง – ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
รหัสผังกำกับคือ ย.1-ย.4 โดยที่ดินประเภทนี้จะมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมสภาพแวดล้อมของเขตชานเมืองให้อยู่ในระดับที่ดีและรองรับซึ่งการขยายตัวของการอยู่อาศัยในเขตชานเมืองรวมไปถึงเขตการให้บริการขนส่งมวลชนอีกด้วย
- พื้นที่สีส้ม – ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง
รหัสผังกำกับคือ ย.5-ย.7 โดยที่ดินประเภทนี้มีจุดประสงค์ที่จะมุ้งเน้นไปที่การรองรับการอยู่อาศัยและการขยายตัวบริเวณเขตต่อเนื่องกับเขตเมืองชั้นใน รวมไปถึงพื้นที่เขตให้บริการขนส่งมวลชน
- พื้นที่สีน้ำตาล – ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
รหัสผังกำกับคือ ย.8-ย.10 ที่ดินประเภทนี้จะเน้นไปที่การอนุรักษ์และดำรงให้คงอยู่ของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และรองรับการอยู่อาศัยในเขตขนส่งมวลชนไปจนถึงเขตเมืองชั้นในที่ต่อเนื่องกับย่านพาณิชย์อีกด้วย
- พื้นที่สีแดง – ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม
รหัสผังกำกับคือ พ.1-พ.5 โดยจุดประสงค์ในการใช้งานที่ดินสีนี้คือการเป็นศูนย์พาณิชยกรรมตั้งแต่ระดับชุมชน ไปจนถึงระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชียงใต้ ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาระดับศูนย์กลางทางธุรกิจการค้าบริการ รวมไปถึงการท่องเที่ยว ทั้งนี้ก็ยังนำไปใช้เพื่อการอยู่อาศัยได้เช่นกัน
- พื้นที่สีม่วง – ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
รหัสผังกำกับคือ อ.1 และ อ.2 โดยที่ อ.1 นั้นจะเน้นไปที่อุตสาหกรรมการผลิตที่มีมลภาวะต่ำ ส่วน อ.2 นั้นเป็นนิคมอุตสาหกรรม หรือย่านอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตและส่งออก และสามารถใช้ที่ดินเพื่อกิจการในรูปแบบอื่นได้ไม่เกิน 10%
- พื้นที่สีเม็ดมะปราง – ที่ดินประเภทคลังสินค้า
รหัสกำกับคือ อ.3 โดยพื้นที่แถบนี้จุดประสงค์ในการใช้งานคือนำไปสร้างเป็นคลังสินค้า คลังบรรจุภัณฑ์ หรืออุตสาหกรรมเกี่ยวกับการประกอบต่างๆโดยไม่มีการผลิต และอุตสาหกรรมในชุมชน
- พื้นที่สีเขียว – ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
รหัสกำกับคือ ก.1-ก.3 ทีดินประเภทนี้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร หรือ เกี่ยวข้องกับการเกษตร และสถานที่ราชการ โดยอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นได้ไม่เกิน 5% และ 10%
- พื้นที่สีขาวมีกรอบและเส้นทะแยงสีเขียว – ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม
รหัสกำกับคือ ก.1-ก.3 ทีดินประเภทนี้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร หรือ เกี่ยวข้องกับการเกษตร และสถานที่ราชการ โดยจะเน้นหนักไปที่การอนุรักษ์และดูแลพื้นที่การเกษตร เพื่อรักษาสภาพแวดล้อม โดยอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นได้ไม่เกิน 5% และ 10%
- พื้นที่สีน้ำตาลอ่อน – ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
รหัสกำกับคือ ศ.1-ศ.2 โดยมักจะเป็นที่ดินที่เน้นไปในทางการอนุลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่ และยังสามารถใช้ในเชิงพาณิชย์และท่องเที่ยว จึงสามารถสร้างโรงแรมได้ แต่ก็มีเงื่อนไข คือต้องไม่เป็นอาคารขนาดใหญ่จนเกินไปและไม่สามารถสร้างหอพักหรืออพาร์ทเม้นท์ได้
- พื้นที่สีน้ำเงิน – ที่ดินประเภทสถาบันราชการ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
รหัสกำกับคือ ส. ให้พูดสั้นๆแบบเข้าใจง่ายเลยก็คือ เป็นที่ดินของรัฐนั้นเอง มีทั้ง สถานศึกษา ศาสนสถาน โรงพยาบาล และ สถานที่ราชาการต่าง ๆ จึงมักจะพบพื้นที่สีน้ำเงินให้เห็นกระจายตัวอยู่ในเกือบทุกพื้นที่
2 โซนสีที่อนุญาตให้สร้างโรงงาน
- พื้นที่สีม่วง – ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
- สีม่วงอ.1 โรงงานอุตสาหกรรมที่มีมลภาวะต่ำ
- สีม่วงอ.2 นิคมอุตสาหกรรมหรือย่านอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตและส่งออก
- พื้นที่สีเม็ดมะปราง – ที่ดินประเภทคลังสินค้า
- สีม่วงอ.3 คลังสินค้า คลังบรรจุภัณฑ์ หรืออุตสาหกรรมเกี่ยวกับการประกอบต่าง ๆ ไม่มีการผลิต และอุตสาหกรรมในชุมชน
พื้นที่แต่ละโซนสีได้กำหนดจุดประสงค์ในการปลูกสร้าง การนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หรือการไปใช้ในการสาธารณูปโภคไว้อย่างชัดเจน ผู้ประกอบการควรตรวจสอบพื้นที่ของตนนั้นอยู่ในโซนสีใดสามารถสร้างโรงงานได้หรือไม่ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ประกอบการคำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายได้คร่าว ๆ อีกด้วย
การสร้างโรงงานนั้นต้องมีความละเอียดและรอบคอบในทุกขั้นตอน ทั้งเรื่องการออกแบบโรงงาน, การวางเครื่องจักรต่าง ๆ ภายในโรงงาน และการวางระบบต่าง ๆ เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานโรงงานที่กำหนด FU LU SHOU Architecture บริษัทรับออกแบบและสร้างอาคารต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์ทุกฟังก์ชั่นโดยทีมงานสถาปนิกคุณภาพมากประสบการณ์ มั่นใจในผลงงานและผลลัพธ์ที่ได้คุณภาพตามความต้องการของลูกค้า พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องฮวงจุ้ยเพื่อเสริมพลังงานที่ดีให้กับการดำเนินธุรกิจ
เครดิต: areaguru