รูปหน้าปก

รู้ก่อนสร้าง! การออกแบบระบบไฟฟ้าในโรงงาน

          ระบบไฟฟ้าในโรงงานนั้นแตกต่างจากระบบไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านเรือนแล้ว ระบบไฟฟ้าที่ใช้ในโรงงานแต่ละประเภทก็มีความแตกต่างกันเช่นเดียวกัน เนื่องจากจุดประสงค์ในการจ่ายไฟฟ้าไปยังระบบต่าง ๆ ในโรงงานนั้นมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน รวมทั้งปัจจัยในเรื่องขนาดของโรงงานแต่ละประเภทอีกด้วย

ปัจจัยที่ต้องที่เกี่ยวข้องในการวางระบบไฟฟ้าในโรงงาน

 1. ขนาดของโรงงาน

ขนาดของโรงงานและกำลังไฟฟ้าที่ใช้ มีผลกระทบต่อการเลือกระดับแรงดันของระบบไฟฟ้าในโรงงานซึ่งจะส่งผลต่อไปยังการลงทุนในอุปกรณ์และอัตราค่าไฟฟ้า ตลอดจนมาตรฐานที่การไฟฟ้าฯ ใช้ควบคุมการใช้ไฟของโรงงาน ปริมาณกำลังไฟฟ้าที่กำหนดตามขนาดของโรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจพาณิชยกรรม

  • โรงงาน / ธุรกิจขนาดเล็ก – ความต้องการพลังไฟฟ้าไม่เกิน 30 KVA.
  • โรงงาน / ธุรกิจขนาดกลาง – ความต้องการพลังไฟฟ้า สูงสุด 30-1999 KVA.
  • โรงงาน / ธุรกิจขนาดใหญ่ – ความต้องการพลังไฟฟ้าตั้งแต่ 2 MVA.

2. กระบวนการผลิตของอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมบางประเภทมีกระบวนการผลิตหลากหลายรูปแบบ ซึ่งในการออกแบบระบบไฟฟ้าของโรงงานต้องคำนึงถึงกระบวนการทำงานของไฟฟ้าในแต่ละอุตสาหกรรมอย่างมาก หากระบบไฟฟ้าไม่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตจนเกิดความขัดข้องระหว่างการผลิตด จะกระทบต่อผลประกอบการของธุรกิจในกรณีที่ความต้องการสินค้าในตลาดสูง เนื่องจากกำลังผลิตของโรงงานไม่พอเพียงไม่ทันเวลา

ประเภทของกระบวนการผลิตในโรงงาน

  • Continuous Flow กระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง 

เช่น อุตสาหกรรมเคมี โรงกลั่น เป็นต้น ระบบไฟฟ้าขัดข้องอาจทำให้สินค้าที่อยู่ในกระบวนการผลิตทั้งหมดเสียหายจนต้องนำไปทำลาย ทำให้มูลค่าจากการเสียหายที่ระบบไฟฟ้าขัดข้องสูงมาก

  • Batch Flow กระบวนการผลิตแบบ

เช่น โรงงานทอผ้า อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปบางประเภท โรงถลุงเหล็ก เป็นต้น การขัดข้องของระบบไฟฟ้าอาจทำให้สินค้าลอตนั้นคุณภาพไม่ได้มาตรฐานต้องทำลายทิ้ง หรือจำหน่ายเป็นสินค้าเกรดต่ำ

  • กระบวนการผลิตที่ไม่ต่อเนื่อง

เช่น อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ โรงงานผลิตชิ้นส่วน อะไหล่ โรงโม่หิน เป็นต้น การหยุดการผลิตไม่ได้ส่งผลให้สินค้าหรือวัตถุดิบที่อยู่ในกระบวนการผลิตเสียหาย

3. ประเภทของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในโรงงาน

อุปกรณ์ที่ไฟฟ้าต่าง ๆ เป้นต้นกำเนิดในการใช้งานไฟฟ้าในโรงงาน อุปกรณ์ที่ได้คุณภาพมีมาตรฐานย่อมส่งผลให้โรงงานสามารถใช้งานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดการขัดข้องระหว่างการใช้งาน และอายุการใช้งานได้นานกว่าอุปกรณ์ที่ไม่ได้คุณภาพ ระบบไฟฟ้าในโรงงานนั้นจะต้องออกแบบให้เป็นต้นกำลังที่เหมาะสมและปลอดภัยเพียงพอกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะต้องใช้ในโรงงานเพื่อสนองความต้องการในกระบวนการผลิตของโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ

อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในโรงงาน

  • ระบบไฟแสงสว่างในโรงงาน/ สำนักงาน
  • อุปกรณ์ระบบปรับอากาศในโรงงาน/ สำนักงาน
  • เตาอบ เตาหลอม heater เครื่องเชื่อมไฟฟ้า
  • ตู้แช่แข็ง ห้องเย็น
  • มอเตอร์ไฟฟ้า
  • หม้อแปลงไฟฟ้า
  • อุปกรณ์ electronic และ computer
  • ระบบควบคุม และป้องกัน
  • เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน

4. ที่ตั้งของโรงงานและแหล่งจ่ายไฟ

หากโรงงานตั้งอยู่ในแหล่งนิคมอุตสาหกรรมที่ระบบไฟฟ้าของ กฟภ. และ กฟน. มีความมั่นคงสูง โดยจะมีระบบส่ง – จ่ายไฟฟ้าเป็น N-1 ก็คือมีแหล่งจ่ายไฟสำรองให้สามารถรองรับกรณีฉุกเฉินได้ 1 วงจรจ่ายไฟ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการติดตั้งระบบไฟฟ้าสำรองหรือ stand by source ของโรงงานได้

โรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ห่างไกลที่ระบบจำหน่ายของ กฟภ. ไปไม่ถึงหรือไปถึงแต่คุณภาพต่ำมี voltage drop มากจะ trip บ่อย จะต้องประเมินระดับการลงทุนในระบบไฟฟ้าของโรงงานที่เหมาะสม หรือใช้พลังงานอื่นเป็นพลังงานป้อนกระบวนการผลิตแทน เช่น เตาเผา หม้อไอน้ำ จากเชื้อเพลิงถ่านหิน น้ำมัน เป็นต้น

โรงงานขนาดใหญ่ที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูง อาจจะต้องลงทุนผลิตไฟฟ้าใช้เอง ซึ่งค่าใช้จ่ายในการลงทุนเบื้องต้นจะสูงกว่าแต่ค่าพลังงานไฟฟ้าจะถูกลง โดยการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง (กฟผ., กฟน. และ กฟภ.) เปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนเลือกระดับแรงดันที่ต้องการได้ ระดับแรงดันที่อนุญาตให้ใช้คือ 

  • 69 KV
  • 115 KV
  • 230 KV 

โดยขึ้นอยู่กับที่ตั้งของโรงงานแลแนวสายส่งที่จะต่อเชื่อมกับระบบส่งของการไฟฟ้าฯ 

ระบบควบคุมและระบบป้องกันในสถานีจ่ายไฟของโรงงานเพื่อความปลอดภัย

โดยปกติแล้วกระทรวงอุตสาหกรรมและกรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดให้แต่ละโรงงานต้องตรวจสอบระบบไฟฟ้าเป็นประจำทุกปีและต้องส่งรายงานที่ได้รับการรับรองจากวิศวกรไฟฟ้า การบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าในโรงงานแต่ละประเภทมีการวางแผนบำรุงรักษาแตกต่างกัน อุปรกรณ์แต่ละชนิดใช้เทคโนโลยีเฉพาะ พนักงานบำรุงรักษาจึงต้องได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี มีความชำนาญและเชี่ยวชาญเฉพาะ 

สำหรับการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานนั้น สามารถทำได้ 2 แบบ คือ 

  1. การตรวจสอบด้วยสายตา (Visual Inspection) 
  2. การตรวจสอบด้วยเครื่องมือวัด ซึ่งต้องการความรู้ในการใช้เครื่องมือวัดและการวิเคราะห์ 

สามารถแบ่งการตรวจสอบออกเป็น 2 ส่วน

  • การตรวจสอบทั่วไป

การตรวจสอบในขั้นตอนนี้ เป็นการตรวจสภาพทั่วไปของระบบไฟฟ้าทั่วไป เป็นการตรวจอย่างง่าย อย่างไรก็ตาม ผู้ตรวจสอบต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากไฟฟ้าและการป้องกันเป็นอย่างดี การสัมผัสส่วนใด ๆ ต้องมั่นใจว่าไม่มีไฟฟ้า หรือมีการป้องกันอย่างเหมาะสมแล้ว

  • การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า

การตรวจสอบที่ตัวอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อหาจุดบกพร่อง การเสื่อมสภาพ ความผิดปกติ และอื่น ๆ การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ทำการบันทึกค่า ผลการตรวจ และทำการวิเคราะห์ผลที่ได้เพื่อหาทางแก้ไข ข้อสำคัญคือ บางรายการต้องตรวจขณะที่จ่ายไฟฟ้า บางรายการต้องดับไฟก่อนจึงจะตรวจได้เนื่องจากมีอันตราย ผู้ที่จะทำการตรวจสอบต้องมีความรู้ในเรื่องนี้ด้วย

ความถี่ในการตรวจสอบ ขึ้นกับสภาพแวดล้อมและการใช้งานโดยปกติจะดำเนินการปีละ 1 ครั้ง การที่จะทำการตรวจสอบถี่ขึ้นหรือไม่นั้น ให้พิจารณาปัจจัยต่อไปนี้ประกอบด้วย

  • การกัดกร่อนของบรรยากาศ
  • สิ่งสกปรกและฝุ่นละออง
  • อุณหภูมิโดยรอบและความชื้น
  • ความถี่ในการทำงาน
  • ความถี่ในการตัดกระแสลัดวงจร (กรณีเซอร์กิตเบรกเกอร์)

การออกแบบระบบติดตั้งไฟฟ้าในแต่ละโรงงานก็มีความหลากหลายขึ้นอยู่กับความต้องของผู้ประกอบการและการใช้งานของแต่โรงงาน รวมทั้งผู้ที่วางระบบไฟฟ้าต้องมีความเชี่ยวชาญและความรู้ในเรื่องของระบบไฟฟ้าต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน หากต้องการปรึกษาเรื่องการติดตั้งระบบไฟฟ้าหรือระบบต่าง ๆ ในโรงงานหรืออาคารบ้านเรือน FU LU SHOU Architecture พร้อมให้คำปรึกษาและช่วยออกแบบโรงงานตามความต้องการ พร้อมวางตามหลักฮวงจุ้ยที่ดีเพื่อธุรกิจที่รุ่งเรือง เป็นเพื่อนคู่คิด เป็นมิตรกับซินแส การันตีด้วยผลงานที่ลูกค้าทุกท่านพึงพอใจ

เครดิต: dede