การสร้างโรงงานอุตสาหกรรมนั้มีปัจจัยที่ต้องพิจารณา ทั้งในเรื่องของงบประมาณ พื้นที่ โครงสร้าง ประเภทโรงงาน กฎหมาย และอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องจากการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมนั้นต้องคำนึงความปลอดภัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก
การวางแผนการเงิน
วางแผนงบประมาณที่แน่นอนสำหรับการสร้างและดำเนินงานของโรงงาน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการเช่าที่ดินหรือการซื้อที่ดิน ค่าก่อสร้าง ค่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ ค่าจ้างแรงงาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อกำหนดกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
กฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและดำเนินการโรงงาน เช่น การอนุญาตการก่อสร้าง พื้นที่และโซนสี เป็นต้น โรงงานบางประเภทต้องมีการขออนุญาตก่อนดำเนินการก่อสร้าง
ประเภทโรงงานที่ต้องขออนุญาต
โรงงานจำพวกที่ 1
- โรงงานการฟักไข่โดยใช้ตู้อบทุกขนาด
- โรงงานทำน้ำตาลจากมะพร้าว
- โรงงานซ่อมรองเท้าหรือเครื่องหนังทุกขนาด
- โรงงานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องมือไฟฟ้า
- โรงงานล้างรถยนต์
- โรงงานซ่อมนาฬิกาหรือเครื่องประดับ
- โรงงานลงรักหรือประดับตกแต่งด้วยแก้ว มุก กระจก ทองหรืออัญมณี
โรงงานจำพวกที่ 2
- โรงงานอุตสาหกรรมโดยส่วนใหญ่ที่มีเครื่องจักรขนาดมากกว่า 50 แรงม้า แต่ไม่เกิน 75 แรงม้า และมีจำนวนคนงานมากกว่า 50 คน แต่ไม่เกิน 75 คน
โรงงานจำพวกที่ 3
- โรงงานอุตสาหกรรมโดยส่วนใหญ่ที่มีเครื่องจักรขนาดมากกว่า 75 แรงม้า และมีจำนวนคนงานมากกว่า 75 คน โดยใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานที่ได้รับจะเรียกว่า ใบรง. 4 ซึ่งอาจจะมีโรงงานบางจำพวกที่มีเครื่องจักรหรือคนงานน้อยกว่าที่กำหนดแต่จัดให้อยู่ในโรงงานจำพวกที่ 3 เช่น โรงงานเกี่ยวกับน้ำมันจากพืชและสัตว์ โรงงานผลิตแอลกอฮอร์ โรงงานฟอกย้อมสี โรงงานเกี่ยวกับไม้ เป็นต้น
- เงื่อนไขการขออนุญาตตั้งโรงงานและใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
- ธุรกิจ SME ที่มีขนาดเล็ก หรือโรงงานจำพวกที่ 1 และ 2 ไม่ต้องดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) แต่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนประกอบกิจการโรงงาน
- โรงงานจำพวกที่ 3 ต้องทำการขอต้องดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)
การพิจารณาประเภทของอุตสาหกรรม
เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในโรงงานแต่ละอุตสาหกรรมแตกต่างกันไป ซึ่งส่งผกลกับกระบวนการทำงานในโรงงาน รวมทั้งส่งผลต่อการเลือกพื้นที่สำหรับสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในด้านของกฎหมายด้วย โดยจำแนกโรงงานอุตสาหกรรมตามประเภทของธุรกิจอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้:
- อุตสาหกรรมการผลิตและการสร้างสรรค์ (Manufacturing Industries):
- โรงงานผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์: โรงงานที่ผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมหรือในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องจักรเกษตร, เครื่องจักรในโรงงานผลิต, อุปกรณ์ทางการแพทย์
- โรงงานผลิตวัสดุดิบ: โรงงานที่ผลิตวัสดุดิบหรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าอื่น ๆ เช่น โรงงานเหล็ก, โรงงานผลิตพลาสติก, โรงงานผลิตสารเคมี
- โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์: โรงงานที่ผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ขายต่อไปยังตลาด เช่น โรงงานผลิตรถยนต์, โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์, โรงงานผลิตเสื้อผ้า
- อุตสาหกรรมบริการ (Service Industries):
- โรงงานบรรจุภัณฑ์: โรงงานที่ทำการบรรจุสินค้าเพื่อขายต่อไปยังตลาด เช่น โรงงานบรรจุเครื่องดื่ม, โรงงานบรรจุอาหารสำเร็จรูป
- โรงงานการบริการขนส่งและโลจิสติกส์: โรงงานที่ให้บริการขนส่งสินค้าและบริการโลจิสติกส์ เช่น โรงงานโกดัง, โรงงานขนส่งสินค้าทางอากาศ
- โรงงานบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ: โรงงานที่ให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โรงงานซอฟต์แวร์, โรงงานบริการโฮสติ้งเว็บไซต์
- อุตสาหกรรมการผลิตพลังงาน (Energy Production Industries):
- โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า: โรงงานที่ผลิตพลังงานไฟฟ้า ในรูปแบบต่างๆ เช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์, โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน, โรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล
- โรงงานผลิตพลังงานที่ใช้ในอุตสาหกรรม: โรงงานที่ผลิตพลังงานที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น โรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติ, โรงงานผลิตน้ำมันดิบ
- โรงงานผลิตเชื้อเพลิงทางเลือก: โรงงานที่ผลิตเชื้อเพลิงทางเลือก เช่น โรงงานผลิตเบนซิน, โรงงานผลิตแก๊สธรรมชาติเป็นต้น
การเลือกพื้นที่ก่อสร้างโรงงานให้เหมาะสม
ทำเลที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมนั้นต้องคำนึงถึงข้อกฎหมายโซนสีและผังเมืองเป็นหลัก เพราะโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละประเภทมีข้อบังคับเรื่องที่ตั้งแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่จังหวัด เมื่อได้พื้นที่ที่อนุญาตให้สร้างโรงงานฯได้แล้ว หลังจากนั้นต้องพิจารณาถึงความสะดวกในการเดินทางและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ
การวางระบบความปลอดภัยและมาตราฐานของโรงงานฯ
โรงงานนั้นมีการทำงานหลายส่วนที่มีโอกาสก่อให้เกิดอันตรายทั้งในส่วนของเครื่องจักรกลและเครื่องมือต่าง ๆ ดังนั้นจึงต้องมีการจัดระเบียบให้เป็นไปตามมาตราฐานที่กำหนด รวมทั้งมาตรฐานของการใช้วัสดุบางชนิดในการก่อสร้างโรงงาน โดยควรเลือกวัสดุที่มีมาตราฐาน มอก. เพื่อความมั่นใจในความปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น
มอก. 15 เล่ม 1-2555 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์
มอก. 20-2559 เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กเส้นกลม
มอก. 24-2559 เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กข้ออ้อย
มอก. 95-2540 ลวดเหล็กกล้า สำหรับคอนกรีตอัดแรง (PC Wire)
มอก. 348-2540 เหล็กลวดคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Wire Rod)
มอก. 880-2547 กระจกโฟลตใส
มอก. 2508-2555 กระเบื้องเซรามิก
มอก. 1222-2560 กระจกนิรภัยหลายชั้น
การเลือกบริษัทรับเหมาก่อสร้าง
การเลือกผู้รับเหมาะก่อสร้างเป็นหนึ่งข้อสำคัญที่ผู้ลงทุนควรให้ความสำคัญ การสร้างโรงงานอุตสาหกรรมนั้นต้องมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์อย่างมาก โดยเฉพาะการสร้างโรงงานฯขนาดใหญ่ หากเลือกผู้รับเหมาที่ไม่เหมาะสมกับงาน อาจจะทำให้งานเกิดความเสียหายหรือดำเนินการล่าช้า รวมทั้งเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาในการใช้งานในอนาคตอีกด้วย การลงทุนกับบริษัทรับเหมาที่มีคุณภาพจึงถือเป้นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาวนั่นเอง
การสร้างโรงงานฯอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากหากมีทีมที่ไว้ใจได้สำหรับให้คำแนะนำในแต่ละขั้นตอนของการสร้างโรงงานฯ หากต้องการที่ปรึกษา FU LU SHOU Architecture บริษัทรับออกแบบและสร้างอาคารต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์ทุกฟังก์ชั่นโดยทีมงานสถาปนิกคุณภาพมากประสบการณ์ มั่นใจในผลงงานและผลลัพธ์ที่ได้คุณภาพตามความต้องการของลูกค้า พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องฮวงจุ้ยเพื่อเสริมพลังงานที่ดีให้กับการดำเนินธุรกิจ