ขั้นตอนในการสร้างโรงงานนั้นต้องมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากการสร้างโรงงานอาจจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน และบริเวณใกล้เคียง ดังนั้นก่อนสร้างโรงงานนักลงทุนหรือเจ้าของโครงการต้องศึกษากฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยก่อนสร้าง เพื่อป้องกันไม่ให้โรงงานที่สร้างส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมข้างเคียง
โรงงาน 3 ประเภท
- โรงงานจำพวกที่ 1 คือ โรงงานที่มีแรงม้ารวมของเครื่องจักร 5-20 แรงม้า และ/หรือมีจำนวนคนงาน 7-20 คน โรงงานขนาดเล็ก ประกอบกิจกรรมประเภทอุตสาหกรรมการผลิตที่มีมลพิษน้อย
- โรงงานจำพวกที่ 2 คือ โรงงานที่มีแรงม้ารวมของเครื่องจักรมากกว่า 20 แรงม้าแต่ไม่เกิน 50 แรงม้าและ/หรือมีจำนวนคนงาน 21-50 คน โรงงานขนาดกลาง การประกอบกิจการอาจก่อมลพิษ หรือก่อให้เกิดความรำคาญเพียงเล็กน้อย สามารถแก้ไขได้
- โรงงานจำพวกที่ 3 คือ โรงงานที่มีแรงม้ารวมของเครื่องจักรมากกว่า 50 แรงม้า และ/หรือ มีจำนวนคนงานมากกว่า 50 คน โรงงานขนาดใหญ่ ก่อปัญหามลพิษซึ่งทางราชการต้องควบคุมดูแล ซึ่งจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการก่อนประกอบการ
กฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
คือ กฎหมายเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กฎหมายสิ่งแวดล้อมของบางประเภทอาจกำหนดคุณภาพสิ่งแวดล้อมและจำกัดเงื่อนไขในการดำเนินกิจการบางประเภทของมนุษย์ เช่น กำหนดปริมาณการปล่อยมลพิษ กำหนดให้ต้องมีการวตรวจสอบกิจการบางอย่าง เป็นต้น
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้กำหนดแนวทางการบริหาร จัดการสิ่งแวดล้อมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และพลังงานในการสร้างโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้มีคงามปลอดภัยและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ
- ระยะพัฒนาโครงการ (Development Period)
- การเลือกพื้นที่ (Site Selection) มีการสำรวจและพิจารณาความเหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นดังนี้
- สภาพภูมิประเทศทั่วไป
- แหล่งรองรับน้ำทิ้ง / แหล่งน้ำใช้
- คุณภาพอากาศและระดับเสียง
- ชุมชนบริเวณใกล้เคียงโครงการ
- การจัดทำแนวคิดการออกแบบเบื้องต้น (Conceptual Design) โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
- โรงงานที่มีน้ำเสียประเภทเดียวกันอยู่บริเวณเดียวกัน
- โรงงานที่ไม่มีมลภาวะตั้งอยู่บริเวณรอบนอกนิคมอุตสาหกรรม หรือติดกับชุมชน
- กำหนดที่ตั้งโรงงานที่มีผลกระทบด้านกลิ่น / อากาศ โดยคำนึงเรื่องทิศทางลม
- จัดให้มีระบบกำจัดของเสียอยู่ส่วนในของพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม
- นำน้ำกลับมาใช้ประโยชน์มากที่สุด
- กำหนดพื้นที่สีเขียวอย่างน้อยร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด
- กำหนดให้มีพื้นที่แนวกันชนรอบนิคมอุตสาหกรรม
- คำนึงถึงด้านภูมิสถาปัตย์ / ความเป็นเอกลักษณ์กลมกลืนกับท้องถิ่น (Unique)
- การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment; EIA) ทำการศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมของโครงการทั้งในระยะก่อสร้าง และระยะดำเนินการ
- การออกแบบรายละเอียดโครงการ (Detail Design) กำหนดให้โครงการนำข้อมูลจากการออกแบบเบื้องต้น (Conceptual Design) และรายงาน EIA มาใช้ประกอบในการออกแบบ และก่อสร้างระบบป้องกันมลพิษที่ได้มาตรฐานประกอบด้วย
- ระบบท่อรวมน้ำเสีย
- ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง
- ระบบบริหารจัดการมูลผอลและกากอุตสาหกรรม
- ระยะก่อสร้างโครงการ (Construction Period) การก่อสร้างต้องดำเนินไปตามาตรฐานที่กนอ. กำกับและควบคุมตามที่ได้ออกแบบเสนอไว้
- ระยะดำเนินการ (Operation Period)
- ติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมนิคมอุตสาหกรรมอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ คุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ ระดับเสียง และกากอุตสาหกรรมตามที่ได้เสนอในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
- ฟื้นฟู/แก้ไข และยกระดับมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมของนิคมอุตสาหกรรม
- ส่งเสริมและยกระดับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และพลังงานให้ได้มาตรฐานสากล โดยการนำระบบ ISO 14001 และมอก.18000 มาประยุกต์ใช้ในโรงงาน
- ส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานควบคุมดูแลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ไฟฟ้า และน้ำอย่างรู้คุณค่า
มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงาน พรบ.โรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
- อาคารในโรงงานต้องมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมและมีบริเวณเพียงพอที่จะประกอบกิจการอุตสาหกรรม ระยะดิ่งระหว่างพื้นถึงเพดานโดยเฉลี่ยต้องไม่น้อยกว่า 3 เมตร มีช่องระบายอากาศ เช่น ประตู หน้าต่าง และช่องลม ในพื้นที่ที่เหมาะสมรวมกันโดยไม่นับที่ติดต่อระหว่างห้องไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ส่วนของพื้นที่
- บันไดและพื้นทางเดินที่อยู่สูงจากระดับพื้นตั้งแต่ ๑.๕๐ เมตร ขึ้นไป อย่างน้อยต้องมีราวที่มั่นคง แข็งแรง และเหมาะสม
- ต้องมีการจัดให้มีสายล่อฟ้า พื้นที่เก็บรักษาวัตถุหรือสิ่งของอันตราย ระบบสัญญานเตือนอัคคีภัย อีกทั้งในการติดตั้งลิฟท์จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดตามขนาดของโรงงานแต่ละประเภท และต้องมีป้ายระบุจำนวนคนหรือน้ำหนักที่จะบรรทุกได้อย่างชัดเจน
- เครี่องจักในโรงงานที่นำมาใช้ต้องปลอดภัยและได้มาตรฐาน ไม่ก่อให้เกิดความสั่นสะเทือน เสียง หรือ คลื่นวิทยุ รบกวนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง
- เครื่องยก (crane and hoist) และส่วนที่รับน้ำหนักต่อเนื่องกันต้องมั่นคงและแข็งแรง มีลักษณะ ขนาด และจำนวนที่เหมาะสม และต้องมีป้ายระบุน้ำหนักปลอดภัยสูงสุดที่จะใช้ยกของได้ให้เห็นได้ง่ายและชัดเจน อีกทั้งต้องมีที่ห้ามล้อซึ่งสามารถจะหยุดน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของน้ำหนักปลอดภัยสูงสุด หากเป็นเครื่องยกที่ใช้ไฟฟ้าต้องมีอุปกรณ์สำหรับหยุด ยก และตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อยกน้ำหนักถึงตำแหน่งสูงสุดที่กำหนด
- เครื่องลำเลียงขนส่ง (conveyer) ซึ่งมีสายลำเลียงผ่านเหนือบริเวณซึ่งมีคนปฏิบัติงานหรือทางเดิน ต้องมีเครื่องป้องกันของตกแบบแผ่นหรือตะแกรงกันด้านข้างและรองรับของตกตลอดใต้สายลำเลียงนั้น โดยให้อยู่ในลักษณะที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงานสำหรับเครื่องลำเลียงขนส่งที่มีสายลำเลียงต่างไปจากแนวระดับ ต้องมีเครื่องบังคับที่ทำให้สายลำเลียงหยุดได้เองเมื่อเครื่องหยุดปฏิบัติงาน
กฎหมายสิ่งแวดล้อมมีบทยาทเป็นข้อกำหนดที่ช่วยให้โรงงานและสิ่งแวดล้อมอยู่ด้วยกันอย่างยั่งยืน และมาตรฐานความปลอดภัยต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนที่ปฎิบัติงานในโรงงานนั้นมีความปลอดภัย รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียง หากต้องการศึกษาและปรึกษาในการสร้างโรงงาน พร้อมทั้งต้องการดูผลงานการสร้างโรงงานที่ได้มาตรฐาน FU LU SHOU Architecture บริษัทรับออกแบบบ้านที่เชี่ยวชาญการออกแบบบ้านและอาคารต่าง ๆ ตอบโจทย์ทุกเรื่องสำหรับการออกแบบอาคารโดยทีมงานคุณภาพมากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องฮวงจุ้ยเพื่อเสริมพลังงานที่ดีให้กับการดำเนินธุรกิจ
เครดิต: krisdika