การสร้างโรงงานฯเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการมองว่าคุ้มค่าในระยะยาวสำหรับการลงทุน แต่ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนเงินก้อนใหญ่เพื่อสร้างโรงงานฯนั้นควรรู้ข้อมูลเพื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ เพื่อให้ได้โรงงานฯที่ถูกใจและฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบโจทย์ธุรกิจ
- ประเภทของโรงงาน การยื่นคำขออนุญาต และสถานที่ตั้ง
ผู้ประกอบการควรตรวจสอบก่อนว่าโรงงานที่ต้องการจะสร้างนั้นจัดอยู่ในประเภทใด เพื่อจะได้ดำเนินการขออนุญาตอย่างถูกต้อง
- โรงงานประเภทที่ 1 – โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังไม่เกิน 20 แรงม้าหรือเทียบเท่า และมีคนงานไม่เกิน 20 คน หากเป็นโรงงานประเภทนี้สามารถดำเนินกิจการได้ทันทีโดยไม่ต้องยื่นขออนุญาต
**(ยกเว้นกรณีที่ประกอบกิจการที่ก่อให้เกิดมลพิษ ให้จัดเป็นจำพวกเดียวกับโรงงานประเภทที่ 3)**
- โรงงานประเภทที่ 2 – โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังมากกว่า 20 แรงม้า แต่ไม่เกิน 50 แรงม้าหรือเทียบเท่า และมีคนงานมากกว่า 20 คน แต่ไม่เกิน 50 คน โรงงานประเภทนี้สามารถดำเนินกิจการได้ทันทีโดยไม่ต้องยื่นขออนุญาต แต่จะต้องมีการชำระค่าธรรมเนียมรายปีในทุกๆ ปี
**(ยกเว้นกรณีที่ประกอบกิจการที่ก่อให้เกิดมลพิษ ให้จัดเป็นจำพวกเดียวกับโรงงานประเภทที่ 3)**
- โรงงานประเภทที่ 3 – โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังเกินกว่า 50 แรงม้า และมีคนงานมากกว่า 50 คน หรือเป็นกิจการที่ก่อให้เกิดมลพิษจากการผลิต โรงงานประเภทนี้จำเป็นต้องขอใบอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินกิจการได้
นอกจากประเภทโรงงานนั้นจะมีการยื่นขออนุญาตที่แตกต่ากันแล้ว เงื่อนไขพื้นที่สำหรับการก่อสร้างก็แตกต่างกันด้วย เนื่องจากการก่อสร้างโรงงานฯมีผลโดยตรงกับสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการจึงต้องตรวจสอบข้อกฎหมายและข้อห้ามต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสถานที่ตั้งโรงงานฯก่อนลงมือสร้าง
- พิจารณา BOQ ของโรงงานฯ
BOQ หรือ Bill of Quantities เอกสารทางวิศวกรรมที่ระบุรายละเอียดการทำงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้าง ทั้งรายละเอียดวัสดุ ปริมาณที่ใช้ ราคาของแต่ละรายการ และค่าแรงในการก่อสร้างทั้งโครงการ อีกทั้ง BOQ สามารถนำไปยื่นเป็นหลักฐานในการกู้สินเชื่อกับธนาคาร หรือนำราคามาเปรียบเทียบกับราคาในท้องตลาดได้อีกด้วย
ซึ่งผู้ประกอบการสามารถพิจารณาความเหมาะสมในแต่ละส่วนของการก่อสร้างโรงงานเบื้องต้นได้จาก BOQ เช่นกัน
- การวางระบบความปลอดภัยและมาตราฐานของโรงงานฯ
โรงงานนั้นมีการทำงานหลายส่วนที่มีโอกาสก่อให้เกิดอันตรายทั้งในส่วนของเครื่องจักรกลและเครื่องมือต่าง ๆ ดังนั้นจึงต้องมีการจัดระเบียบให้เป็นไปตามมาตราฐานที่กำหนด รวมทั้งมาตรฐานของการใช้วัสดุบางชนิดในการก่อสร้างโรงงาน โดยควรเลือกวัสดุที่มีมาตราฐาน มอก. เพื่อความมั่นใจในความปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น
- มอก. 15 เล่ม 1-2555 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์
- มอก. 20-2559 เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กเส้นกลม
- มอก. 24-2559 เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กข้ออ้อย
- มอก. 95-2540 ลวดเหล็กกล้า สำหรับคอนกรีตอัดแรง (PC Wire)
- มอก. 348-2540 เหล็กลวดคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Wire Rod)
- มอก. 880-2547 กระจกโฟลตใส
- มอก. 2508-2555 กระเบื้องเซรามิก
- มอก. 1222-2560 กระจกนิรภัยหลายชั้น
- คำนวณค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง
เมื่อพิจารณารายละเอียดส่วนต่าง ๆ เรียบร้อยแล้วส่วนสำคัญที่สุดคือคำนวณต้นทุนจากค่าใช้จ่ายทั้งหมด เพื่อพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุนทั้งในระยะสั้น และระยะยาว รวมทั้งต้องคำนวณรายจ่ายเกี่ยวกับการบำรุงรักษาล่วงหน้าเข้าไปด้วยเพื่อให้ครอบคลุม
- เลือกผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์
การเลือกบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่มีประสบการณ์จะมีความชำนาญในการก่อสร้างแล้ว ยังมีประสบการณ์ในการเลือกสรรวัสดุที่เหมาะสม สามารถออกแบบฟังก์ชันต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี อีกทั้งมีความรู้ในศาสตร์ของฮวงจุ้ยยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของโรงงานได้ขึ้นไปอีก เพราะสามารถใช้พลังงานธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ ช่วยลดต้นทุนพลังงาน และทำให้เกิดความสบายใจอีกด้วย
การสร้างโรงงานฯอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากหากมีทีมที่ไว้ใจได้สำหรับให้คำแนะนำในแต่ละขั้นตอนของการสร้างโรงงานฯ หากต้องการที่ปรึกษา FU LU SHOU Architecture บริษัทรับออกแบบและสร้างอาคารต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์ทุกฟังก์ชั่นโดยทีมงานสถาปนิกคุณภาพมากประสบการณ์ มั่นใจในผลงงานและผลลัพธ์ที่ได้คุณภาพตามความต้องการของลูกค้า พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องฮวงจุ้ยเพื่อเสริมพลังงานที่ดีให้กับการดำเนินธุรกิจ