ไม่ว่าจะสิ่งก่อสร้างใด ๆ บ้าน อาคาร ตึกแถวหรือโรงงานอุตสาหกรรมล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานสถาปนิกทั้งหมด ก่อนจะวางโครงสร้างเพื่อการก่อสร้างที่ได้มาตรฐานสถาปนิกต้องเป็นผู้ที่ออกแบบในส่วนต่าง ๆ เพื่อดูความเหมาะสมและองค์ประกอบโดยรวมทั้งหมด ทั้งการวิเคราะห์พื้นที่ สภาพแวดล้อม สภาพอากาศ การเลือกใช้วัสดุ และการควบคุมงบประมาณเพื่อให้เป็นไปตามความสวยงามที่ลูกค้า ซึ่งค่าวิชาชีพของสถาปนิกในการทำงานแต่ละประเภทก็จะมีการคำนวณที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมของงาน
สิ่งที่สถาปนิกต้องคำนึงถึงในการออกแบบ
- ขอบเขตงาน – ผู้ว่าจ้างต้องแจ้งความต้องการในการออกแบบงานให้แก่สถาปนิกต้องการออกแบบส่วนใดของงานบ้าง เพื่อเป็นประโยชน์แก่สถาปนิกในการค้นหาข้อมูลและการออกแบบ
- ฟังก์ชั่นการใช้สอย – นอกจากความสวยงามแล้วนั้นสถาปนิกจะต้องคำนึงถึงการใช้งานเป็นอันดับแรก เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบายและสวยงาม คำถามที่สถาปนิกมักตั้งคำถามกับผู้ว่าจ้างเพื่อการออกแบบฟังก์ชั่นที่ตอบโจทย์มากที่สุด
- อาคารนี้จะใช้ทำอะไรบ้าง
- ต้องการห้องอะไรเพิ่มเติมเป็นพิเศษหรือไม่
- งบประมาณ – เมื่อบอกความต้องการของงานออกแแบบเบื้องต้นแล้ว สิ่งที่สถาปนิกต้องการทราบคืองบประมาณในการสร้าง หากยังไม่มีตัวเลขในใจทางสถาปนิกจะแนะนำงบประมาณคร่าว ๆ เพื่อให้ลูกค้าพิจารณา แต่หากมีงบประมาณในใจแล้วแต่อาจจะไม่เพียงพอกับงานออกแบบที่ผู้ว่าจ้างต้องการทางสถาปนิกควรแจ้งตัวเลขที่เป้นไปได้ให้แก่ผู้ว่าจ้างเช่นกัน
- ข้อจำกัดในการออกแบบ – เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในงานออกแบบ หากมีข้อจำกัดใด ๆ ที่อาจจะส่งผลหรือไม่ส่งผลต่องานออกแบบ เช่น
- โรคประจำตัวหรือปัญหาสุขภาพของผู้อยู่อาศัย หากมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้หรือโรคปอด สถาปนิกจะพยายามหลีกเลี่ยงวัสดุที่เก็บสะสมฝุ่น เช่น โซฟาผ้า ตุ๊กตาผ้า เป็นต้น หรือหากมีคนสูงอายุอาศัยอยู่ที่อาจจะเดินขึ้นลงบันไดไม่สะดวก สถาปนิกอาจจะออกแบบให้มีห้องนอนที่ชั้นล่างเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้อาศัย เป็นต้น
- ความเชื่อของผู้อยู่อาศัย เช่น ความเชื่อเรื่องฮวงจุ้ยบ้าน หรือความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ เป็นต้น
ต้องเเจ้งให้สถาปนิกรับทราบ เพื่อสถาปนิกจะได้ระมัดระวังและหลีกเลี่ยงเพื่อให้ให้ขัดต่อข้อจำกัดนั้น
- ขนาดที่ตั้งโครงการ – ผู้ว่าจ้างควรเตรียมสำเนาโฉนดที่ดินขนาดเท่าฉบับจริง หรือหากเป็นการตกแต่งภายในควรนำแบบก่อสร้างเดิมที่มีมาด้วย เพื่อให้สถาปนิกได้เห็นข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งหลังจากนี้สถาปนิกต้องเข้าไปวัดพื้นที่จริงเพื่อนำว่าคำนวณงบประมาณและประกอบการออกแบบเพื่อให้ผู้ว่าจ้างพิจารณา
- สไตล์ – หากผู้ว่าจ้างมีสไตล์ที่ชอบในการออกแบบต้องแจ้งให้สถาปนิกทราบ หากไม่แน่ใจว่าสไตล์ที่ชอบเรียกว่าอะไร หรือมีหลายสไตล์ที่สนใจ ควรนำรูปถ่ายหรือตัวอย่างผลงานที่ชื่นชอบมาให้สถาปนิกพิจารณาเพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบ ซึ่งสไตล์ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอีกหนึ่งข้อที่ควรแจ้งให้สถาปนิกทราบ
มาตรฐานการคิดค่าบริการออกแบบอาคารโดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ 6 ประเภท
ประเภทที่ 1 ตกแต่ง ภายใน ครุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์
ประเภทที่ 2 พิพิธภัณฑ์ วัด อนุสาวรีย์ อาคารอนุสรณ์ที่วิจิตรสวยงาม
ประเภทที่ 3 บ้าน (ไม่รวมตกแต่งภายใน)
ประเภทที่ 4 โรงพยาบาล รัฐสภา โรงแรม ธนาคาร คอนโดมิเนียม วิทยาลัย
ประเภทที่ 5 สำนักงาน สรรพสินค้า หอพัก โรงเรียน โรงอุตสาหกรรม
ประเภทที่ 6 โกดัง อาคารจอดรถ ห้องแถว ตลาด
สูตรการคำนวณอัตราค่าบริการวิชาชีพสถาปนิก
งบประมาณในกาาก่อสร้าง (ไม่รวมค่าตกแต่งภายใน) x เปอร์เซ็นตามงบประมาณที่กำหนดไว้(%)
- ราคาค่าก่อสร้างทั้งหมดของบ้านจะอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านบาท ค่าบริการออกแบบของสถาปนิกคิดเป็น 7.5% ของค่าก่อสร้าง ดังนั้นค่าวิชาชีพอยู่ที่ประมาณ 150,000 บาท
2,000,000 x 7.5% = 150,000
ซึ่งมาตรฐานราคาเหล่านี้เป็นเพียงแนวทางที่สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ได้รวบรวมขึ้นไว้เป็นมาตรฐานเท่านั้น แต่ไม่ใช่ข้อกำหนดที่มีผลทางกฎหมาย ดังนั้นสถาปนิกหรือบริษัทรับออกแบบบ้านสามารถคิดเรตค่าบริการที่สูงหรือต่ำกว่าราคามาตรฐานได้ขึ้นอยู่กับบริษํทกำหนด
ปัจจัยที่ทำให้ค่าบริการการออกแบบแตกต่างกัน
- ขอบเขตงาน
ขอบเขตเนื้องานนั้นเป็นตัวกำหนดอัตราค่าบริการ ซึ่งขึ้นอยู่กับขอบเขตงานที่ลูกค้าต้องการให้สถาปนิกทำงานให้นั่นเอง
- ขนาดพื้นที่และสไตล์
ขนาดพื้นที่ใช้สอยยิ่งมากค่าออกแบบก็สูงขึ้น รวมทั้งสไตล์ที่ใช้ในการออกแบบก็มีผลต่อค่าใช้จ่าย เช่น หากออกแบบภายในแบบมินิมอลสไตล์นั้นจะถูกกว่าการออกแบบภายในแบบคลาสสิกสไตล์ เพราะความละเอียดในการออกแบบและเนื้องานแตกต่างกัน เป็นต้น
- ความยากง่าย ซับซ้อนในการออกแบบ
อาคารที่มีความซับซ้อนในการออกแบบจะมีรายละเอียดมากกว่า ใช้เวลา และจำนวนบุคลากรที่ทำงานมากขึ้นซึ่งทำให้ค่าบริการจะสูงกว่า แม้จะเป็นพื้นทีเล็ก ๆ แต่รายละเอียดเนื้องานซับซ้อนราคาก็จะแพงกว่าอาคารที่ไม่ซับซ้อนหรือมีรายละเอียดน้อยกว่า เช่น
- อาคารตึกสูง สถาปนิกจะต้องคำนึงถึงการออกแบบที่ต้องรับแรงด้านข้างที่กระทบต่ออาคารได้อย่างดี เช่น แรงลม แรงแผ่นดินไหว เป็นต้น อาคารสูงจึงต้องมีโครงสร้างข้อต่อที่แข็งแรงเป็นพิเศษ
- อาคารโรงพยาบาล นอกจากโครงสร้างที่ต้องแข็งแรงแล้ว สถาปนิกจะต้องคำนึงถึงพื้นที่ใช้สอยในอาคาร เพราะต้องรองรับผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ยังต้องคำนึงถึงการขนย้ายผู้ป่วย ขนย้ายเครื่องมือแพทย์ และระยะทางในการใช้งานเพื่อให้เกิดความสะดวกที่สุด ดังนั้นฟังก์ชั่นต่าง ๆ ในโรงพยาบาลจะมีขนาดใหญ่กว่าอาคารทั่วไป
- อาคารอาคารสาธารณะ หากสำหรับใช้อยู่อาศัยจะต้องออกแบบตามที่กฎหมายอาคารและสิ่งปลูกสร้างกำหนด เช่น ระยะห่างทางเดินต้องกว้างอย่างน้อย 1 เมตร ระยะห่างบันได เป็นต้น
อยากมีบ้านปัง ๆ หรือต้องการลงทุนการสร้างอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ สามารถปรึกษาหรือขอคำแนะนำจาก FU LU SHOU Architecture เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ซินแส บริษํทรับออกแบบบ้านที่เชี่ยวชาญการออกแบบบ้านตามหลักฮวงจุ้ยที่ดีที่สุด ตอบโจทย์ทุกเรื่องสำหรับการออกแบบบ้าน โดยทีมงานคุณภาพมากประสบการณ์
เครดิต: asa