การรีโนเวท ต่อเติม หรือเปลี่ยนแปลงแบบอาคารนั้นสามารถทำได้ทั้งบ้านและโรงงานอุตสาหกรรม แต่หากการรีโนเวทโรงงานอุตสาหกรรมนั้นทำให้จะต้องหยุดการทำงานหรือการผลิตไปด้วยก็อาจจะไม่ส่งผลดีต่อผู้ประกอบการสักเท่าไหร่ เพราะหมายถึงรายได้ที่จะต้องสูญเสียไปและมีค่าใช้เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย
การปรับปรุงและซ่อมแซมหรือการรีโนเวทโรงงานนั้นเป็นงานที่ซับซ้อนกว่าการสร้างโรงงานใหม่ เนื่องจากต้องคำนึงถึงเชื่อมโยงระบบต่าง ๆ ในโรงงานกับโครงสร้างพื้นฐาน และการรีโนเวทที่จะต้องไม่กระทบต่อกิจกรรมการผลิตของโรงงานทำให้มีรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย แต่โดยการก่อสร้างโรงงานทั่วไปจะมีการแบ่งงานออกเป็น 4 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้
- งานด้านสถาปัตยกรรม
เป็นขั้นตอนการออกแบบรายละเอียดเกี่ยวกับตัวอาคาร ทั้งความสวยงามและการใช้งานต่าง ๆ ให้ออกมาได้ตามความต้องการของผู้ประกอบการ เช่น งานดีไซน์รับออกแบบโกดังสินค้า งานตกแต่ง งาน build in เป็นต้น ซึ่งงานออกแบบเป็นขั้นตอนแรก ๆ ของการเริ่มโครงการก่อสร้างหรือรีโนเวทโรงงาน
- งานคอนกรีต
คอนกรีตเป็นการผสมปูนซีเมนต์ หิน ทราย และน้ำเข้าด้วยกัน มีคุณสมบัติรับแรงอัดได้ดีจึงนิยมใช้กับโครงสร้างรับแรงอัด เช่น งานฐานราก พื้น เสาเข็ม คาน เป็นต้น สำหรับโรงงานและคลังสินค้า มักนิยมใช้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับอาคาร
- งานโครงสร้างเหล็ก
งานโครงสร้างเหล็กหรืองาน Main Frame เป็นการนำโลหะ ประเภทเหล็ก ที่มีความแข็งแรงสูง มาเชื่อมต่อกันขึ้นรูปเป็นโครงสร้างของอาคาร โดยมีส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น เสาเหล็ก โครงผนัง โครงหลังคา แปร เป็นต้น โดยปกติจะดำเนินการก่อสร้างเป็นลำดับจากด้านล่างขึ้นสู่ด้านบน ซึ่งโครงสร้างเหล็กได้รับความนิยมเพราะมีความแข็งแรงทนทาน สามารถรองรับน้ำหนักได้มากกว่าโครงสร้างแบบอื่น ๆ
- งานระบบ
เมื่อตัวอาคารก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว ก็จะเป็นขั้นตอนการวางระบบทางวิศวกรรมต่าง ๆ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบสุขภิบาล ระบบอากาศ เป็นต้น
ซึ่งจากรายละเอียดโครงสร้างโรงงานอุตสาหกรรมข้างต้นจะสังเกตุว่าเป็นโครงสร้างจากภายนอกสู่ภายใน สำหรับการรีโนเวทโรงงานนั้นสามารถเริ่มทำการปรับปรุงจากบริเวณส่วนด้านนอกก่อน เช่น งานทาสี งานเทพื้น งานทำป้าย เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่การรีโนเวทด้านนอกมักไม่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำงานของเครื่องจักรหรือการผลิตในโรงงานอยู่แล้ว
สำหรับการรีโนเวทโรงงานเกี่ยวกับระบบต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของเครื่องจักรนั้น อาจจะต้องค่อย ๆ รีโนเวททีละจุดไป เช่น ปรับปรุงระบบไฟฟ้าโรงงาน A ให้แล้วเสร็จ ก่อนเริ่มการปรับปรุงระบบไฟฟ้าของโรงงาน B ต่อ เพื่อให้โรงงานยังสามารถดำเนินการทำงานได้โดยไม่ต้องหยุดชะงักทั้งหมด เป็นต้น
หากต้องการรีโนเวทโรงงานหรือต้องการปรับปรุงพื้นที่ต่าง ๆ ในโรงงาน แต่ยังไม่แน่ใจรายละเอียดและไม่ต้องการให้กระบวนการผลิตต้องหยุดชะงัก FU LU SHOU Architecture พร้อมให้คำปรึกษาในการออกแบบโรงงานตามความต้องการ รับเหมาต่อเติมโรงงาน ขยายโรงงาน และปรับปรุงโครงสร้างอาคารโรงงาน พร้อมวางตามหลักฮวงจุ้ยที่ดีเพื่อธุรกิจที่รุ่งเรือง เป็นเพื่อนคู่คิด เป็นมิตรกับซินแส การันตีด้วยผลงานที่ลูกค้าทุกท่านพึงพอใจ
เครดิต: โครงงานวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ปี 2560