รูปหน้าปก

รู้ก่อนสร้าง! 5 วิธีแก้ปัญหาเสียงดังในโรงงานฯ

          โรงงานอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรทำงานตลอดเวลา ทำให้ปัญหาเสียงดังจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในทางกฎหมายได้มีข้อกำหนดเรื่องค่าความเสียงดังของโรงงานอุตสาหกรรมต้องไม่เกินมาตรฐาน Time Weighted Average (TWA) 85 เดซิเบล เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของพนักงงานที่ปฏิบัติงาน และส่งผลกระทบต่อชุมชนข้างเคียง หากโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดเรื่องการป้องกันปัญหามลภาวะทางเสียงจนโดนร้องเรียนเรื่องเสียงดัง ซึ่งอาจจะถึงขั้นต้องปิดโรงงานฯ

3 วิธีป้องกันและควบคุมเรื่องเสียงในโรงงานฯ

  1. ควบคุมแหล่งกำเนิดเสียงในโรงงานฯ

ควบคุมปริมาณเสียงจากตัวแหล่งกำเนิดเสียง โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การเลือกเครื่องจักรหรืออุกปรณ์ที่มีการออกแบบการทำงานไม่ส่งเสียงดังเกินมาตรฐาน หรือตรวจสอบกระบวนการผลิตอย่างละเอียด หากพบว่ามีขั้นตอนใดที่ทำให้เกิดเสียงดังต้องแก้ปัญหาหรือปรับวิธีการทำงานเพื่อให้เสียงที่ดังเกินมาตรฐานลดลง

 นอกจากนั้นทางโรงงานอุตสาหกรรมควรหาวิธี หรือวัสดุที่จะช่วยลดเสียงดัง เช่น ออกแบบห้องเก็บเสียงในโรงงานฯ อย่างได้มาตรฐานเพื่อช่วยควบคุมเสียงจากห้องเครื่องจักร การติดตั้งวัสดุซับเสียงที่ผนังภายในของห้อง หมั่นใช้น้ำมันหล่อลื่นเพื่อให้เครื่องจักรทำงานอย่างลื่นไหลไม่ให้เกิดการเสียดสีจนเสียงดังรบกวน เป็นต้น รวมทั้งควรตรวจสอบตำแหน่งและอุปกรณ์ของเครื่องจักรว่าเไม่มีส่วนใดเสื่อมสภาพทำให้มีเสียงดังแปลก ๆ หรือมีการสั่นสะเทือนระหว่างการทำงาน เพราะแรงสั่นสะเทือนจะยิ่งส่งผลให้เกิดเสียงดังมากขึ้น และยังเป็นอันตรายต่อบุคลากรรวมถึงบุคคลในพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย

  1. การจัดวางเครื่องจักในแปลนโรงงาน

เครื่องจักรเป็นแหล่งกำเนิดเสียงมากที่สุดภายในโรงงาน ดังนั้นแปลนของโรงงานควรมีการจัดวางให้เครื่องจักรที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงที่ใหญ่ที่สุดให้อยู่ไกลจากชุมชน หรือบริเวณที่เสียงจากเครื่องจักรอาจจะก่อให้เกิดปัญหา โดยปกติระดับของเสียงจะลดลง 6 เดซิเบล ในทุกระยะทางที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เช่น 

“เครื่องจักรห่างจากชุมชน 100 เมตร ส่งเสียงในระดับ 120 เดซิเบล 

หากขยับเครื่องจักรถอยออกห่างเป็น 200 เมตร ระดับเสียงจะลดลงไปอยู่ที่ 114 เดซิเบล” 

ดังนั้นการจัดวางเครื่องจักรให้อยู่ไกลหรือส่วนในสุดจะช่วยลดเสียงได้ แต่โรงงานอุตสาหกรรมก็ควรเพิ่มวิธีป้องกันเสียงอื่น ๆ เช่น เสริมวัสดุซํบเสียงที่ผนัง ทำห้องเก็บเสียง เป็นต้น

  1. ใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง

สำหรับพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำงานใกล้กับเครื่องจักรอย่างเลี่ยงไม่ได้ ควรหาอุปกรณ์ป้องกันเสียงดังมาสวมใส่เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง เช่น ปลั๊กอุดหูสามารถช่วยลดระดับความดังของเสียงได้ประมาณ 10 – 20 เดซิเบล เป็นต้น รวมทั้งในทางกฎหมายห้ามพนักงงานทำงานใกล้กับเครื่องจักรที่มีเสียงดังไม่เกิน 85 เดซิเบล ได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง

หากต้องการรีโนเวทโรงงาน ปรับปรุง หรือพื้นที่ต่าง ๆ ในโรงงาน รวมทั้งปรึกษาเรื่องข้อกำหนดต่าง ๆ ในการสร้างโรงงานอถตสาหกรรม FU LU SHOU Architecture พร้อมให้คำปรึกษาในการออกแบบโรงงานตามความต้องการ รับเหมาต่อเติมโรงงาน ขยายโรงงาน และปรับปรุงโครงสร้างอาคารโรงงาน พร้อมวางตามหลักฮวงจุ้ยที่ดี

เครดิต: เว็บไซต์ stou.ac.th