รูปหน้าปก

7 เสต็ปการทำงานของสถาปนิกในการออกแบบโรงงาน

          กระบวนการสร้างบ้านและโรงงานนั้นมีรายละเอียดย่อยที่ความแตกต่างกัน การสร้างโรงงานจะมีรายละเอียดในเรื่องขั้นทางกฏหมายค่อนข้างซับซ้อนกว่า เนื่องจากการสร้างโรงงานนั้นส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งชุมชน แหล่งน้ำ และพื้นที่ใกล้เคียง สำหรับนักลงทุนที่ต้องการสร้างโรงงานควรศึกษาขั้นตอนการสร้างโรงงานเพื่อเป็นข้อมูลโดยสามารถปรึกษากับสถาปนิกผู้ออกแบบโรงงาน

7 ขั้นตอนกระบวนการออกแบบโรงงาน 

1. Research 

สถาปนิกจะต้องศึกษาข้อมูลความต้องการโดยรวมของลูกค้า และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เช่น สถานที่ตั้งอยู่ในโซนสีที่ได้รับอนุญาตให้สร้างโรงงานได้ตามกฎหมายผังเมืองหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับให้คำปรึกษาและเพื่อการดำเนินการยื่นเรื่องเพื่อขออนุญาตเปิดโรงงานให้ถูกกฎหมายขั้นตอนต่อไป

  • โรงงานทุกประเภท ห้ามจัดตั้งภายในบริเวณหมู่บ้านจัดสรร อาคารชุด หรือบ้านเพื่อพักอาศัย
  • โรงงานประเภทที่ 1 และ 2 ห้ามก่อตั้งกิจการในระยะ 50 เมตรจากเขตติดต่อสาธารณะสถาน ได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาล วัด โบราณสถาน และแหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
  • โรงงานประเภทที่ 3 ห้ามก่อตั้งกิจการในระยะ 100 เมตรจากเขตติดต่อสาธารณะสถาน และต้องอยู่ในสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีบริเวณเพียงพอ ไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุรำคาญ หรือความเสียหายต่อบุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น

โดยตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ได้แบ่งโรงงานออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • โรงงานประเภทที่ 1 – โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังไม่เกิน 20 แรงม้าหรือเทียบเท่า และมีคนงานไม่เกิน 20 คน หากเป็นโรงงานประเภทนี้สามารถดำเนินกิจการได้ทันทีโดยไม่ต้องยื่นขออนุญาต (ยกเว้นกรณีที่ประกอบกิจการที่ก่อให้เกิดมลพิษ ให้จัดเป็นจำพวกเดียวกับโรงงานประเภทที่ 3)
  • โรงงานประเภทที่ 2 – โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังมากกว่า 20 แรงม้า แต่ไม่เกิน 50 แรงม้าหรือเทียบเท่า และมีคนงานมากกว่า 20 คน แต่ไม่เกิน 50 คน โรงงานประเภทนี้สามารถดำเนินกิจการได้ทันทีโดยไม่ต้องยื่นขออนุญาต แต่จะต้องมีการชำระค่าธรรมเนียมรายปีในทุกๆ ปี (ยกเว้นกรณีที่ประกอบกิจการที่ก่อให้เกิดมลพิษ ให้จัดเป็นจำพวกเดียวกับโรงงานประเภทที่ 3 เช่นเดียวกัน)
  • โรงงานประเภทที่ 3 – โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังเกินกว่า 50 แรงม้า และมีคนงานมากกว่า 50 คน หรือเป็นกิจการที่ก่อให้เกิดมลพิษจากการผลิต โรงงานประเภทนี้จำเป็นต้องขอใบอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินกิจการได้


2. Concept

สถาปนิกจะต้องพูดคุยเพื่อรวบรวมไอเดียและความต้องการของลูกค้า พร้อมทั้งต้องศึกษาประเภทของโรงงานที่ลูกค้าต้องการสร้าง เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับเครื่องจักรและระบบวิศกรรมภายในได้อย่างถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน เพราะการทำโรงงานนั้นจะเต็มไปด้วยเครื่องจักรและอุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ  มากมาย ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดเหตุไม่คาดฝันอย่างอุบัติเหตุจากการทำงานหรือความผิดพลาดของอุปกรณ์ได้ การวางระบบความปลอดภัยจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ผู้ลงทุนและผู้ประกอบการจำเป็นต้องคำนึง

สถาปนิกอาจจะต้องให้คำแนะนำในการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมในส่วนต่าง ๆให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกรมโรงงานกระทรวงอุตสาหกรรม เช่น เครื่องตรวจสอบอุณหภูมิ ระบบไฟที่ส่องสว่างมากพอ ระบบแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุ ชุดปฏิบัติการสำหรับพนักงาน การทำพื้นที่แยกขยะ การทำพื้นที่เก็บสารเคมี รวมถึงแนวทางการกำจัดขยะ มลพิษ โดยเฉพาะโรงงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีต่างๆ ยิ่งต้องยกระดับความปลอดภัยขึ้นเป็น 2 เท่า เพื่อป้องกันการรั่วไหลของเคมีออกไปยังภายนอกโรงงาน เป็นต้น


3. Final Design

ในข้อนี้จะมีความค้ลายคึงกับการออกแบบบ้านเมื่อได้ข้อสรุปของคอนเซ็ปต์งานแล้ว สถาปนิกต้องนำเสนองานออกแบบเพื่อลูกค้าจะเห็นภาพโดยรวมทั้งหมด แต่สำหรับการสร้างโรงงานจะต้องแสดงระบบวิศวกรรมและระบบความปลอดภัยต่าง ๆ อย่างละเอียด อาทิเช่น 

  • ระบบไฟฟ้า ประปา และแสงสว่าง
  • โครงสร้างโรงงาน พื้นอาคาร และท่อระบายน้ำเสีย
  • ระบบห้องเย็นและคลังสินค้า
  • ระบบการวางเครื่องจักรในส่วนของการผลิต 
  • ระบบอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน ช่วยลดค่าไฟฟ้า รวมถึงงานดูแลและออกแบบ ระบบ Solar cell
  • ระบบการจัดการและบริหารการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพในสายการผลิตโรงงาน
  • ระบบการจัดการแยกขยะ รวมถึงแนวทางการกำจัดขยะมลพิษ
  • ระบบการการจัดการพื้นที่เก็บสารเคมี

4. Drawing

หลังจากงานดีไซน์ Approved สถาปนิกจะดำเนินการวางรูปแบบการก่อสร้างและจัดทำรายละเอียดเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการขออนุญาตก่อสร้างที่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ ข้อกำหนดของท้องถิ่น และองค์กรณ์ท้องถิ่นควบคุม รายละเอียดของการก่อสร้าง รายการประกอบแบบ รวมทั้งการคิดค่าบริการวิชาชีพ

รายการเอกสารสำหรับขออนุญาตฯ

  • คำขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน 
  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (ในกรณีผู้ขอเป็นนิติบุคคล) คัดสำเนาไม่เกิน 3 เดือน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้าน หรือหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  • หนังสือมอบอำนาจ
  • เอกสารแสดงการมีสิทธิ์ใช้ที่ดิน เช่น สำเนาโฉนด
  • แบบแปลนแผนผังอาคารโรงงาน ลงนามรับรองความปลอดภัยโดยวิศวกรควบคุม
  • แผนผังแสดงการติดตั้งเครื่องจักร รับรองความปลอดภัยโดยวิศวกร
  • สำเนาหนังสืออนุญาตก่อสร้าง
  • ขั้นตอนการผลิตโดยละเอียด
  • เอกสารอื่นๆตามที่เจ้าหน้าที่กำหนด เช่น รายงานประเมินความเสี่ยง เป็นต้น

หน้าที่ของเจ้าหน้าที่แต่ละวิชาชีพ

สำหรับการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม จะมีรายละเอียดมากกว่าการก่อสร้างที่อยู่อาศัยทั่วไป เนื่องจากเป็นโรงงานอุตสาหกรรม ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มลพิษทางอากาศ การบำบัดน้ำเสีย ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำ การคัดแยกขยะ โครงสร้างที่ต้องมีความแข็งแรงทนทาน และต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของทุกชีวิต ไม่เว้นแม่แต่พื้นที่ชุมชน หรือ ผู้ที่อยู่ภายในโรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพนั่นๆ เข้ามาตรวจสอบ แก้ไข  ค่าบริการวิชาชีพวิศวกรรม จะถูกคิดรวมกับค่าออกแบบแล้ว

  • วิศกรรมโยธา (Structural Engineer)
    ทำหน้าที่ออกแบบโครงสร้างให้แข็งแรงและสามารถก่อสร้างได้จริงตามที่สถาปนิกได้ออกแบบไว้
  • วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineer)
    ทำหน้าที่ออกแบบระบบไฟฟ้าทั้งหมดของบ้าน ตามความต้องการของบ้านที่ออกแบบไว้
  • วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineer)
    ทำหน้าที่ ออกแบบระบบสุขาภิบาล ระบบน้ำเสีย ระบบระบายน้ำฝน และระบบที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
  • วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanica Engineer)
    ทำหน้าที่ออกแบบระบบปรับอากาศ ระบายอากาศ ระบบดับเพลิงลิฟต์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ และออกแบบจัดระบบกลไกภายในบ้านให้เข้ากับอุปกรณ์นั้น ๆ ได้ รวมถึงให้คำปรึกษาในการเลือกซื้อปุกรณ์ต่างๆ
  • สถาปนิก (Architect)
    ทำหน้าที่ศึกษาความเป็นไปได้โครงการ ความต้องการของเจ้าของอาคาร และออกแบบวางผังอาคาร ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพื้นที่นั้น ๆ ให้คำแนะนำกับเจ้าของโครงการ และประสานงานกับวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างการคำนวณค่าบริการวิชาชีพ

งบประมาณในการสร้างโรงงาน 8,000,000 บาท คิดดังนี้

8,000,000 บาท x       5.50% =    440,000 บาท
งบประมาณ อัตราค่าออกแบบ ราคางานออกแบบ

รวมเป็นค่าออกแบบทั้งสิ้น = 440,000 บาท

ราคาค่าบริการวิชาชีพที่กล่าวไว้เป็นเพียงค่าพื้นฐาน จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชปถัมภ์(asa)

ที่ใช้เป็นแนวทางให้ลูกค้าและสถาปนิกเข้าใจร่วมกันเท่านั้น แต่ไม่ใช่ข้อกำหนดทางกฎหมาย

เพราะค่าบริการวิชาชีพสามารถมากหรือน้อยกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ได้

เนื่องจากอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆปัจจัยอื่น


5. BOQ (Bill of Quantities)

เอกสาร BOQ ที่เป็นราคากลางเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการและสำหรับคัดเลือกผู้รับเหมา โดยแสดงในแต่ละหมวดสำหรับการก่อสร้างดังนี้

  • หมวดงานดินและการเตรียมงาน แสดงค่าใช้จ่ายในการเตรียมการก่อสร้าง เช่น การปรับพื้นที่หน้าดิน หรือการรื้ออาคารเก่า
  • หมวดงานโครงสร้าง แสดงรายละเอียดและปริมาณงานโครงสร้างทั้งหมด เช่น คอนกรีตโครงสร้าง คอนกรีตหยาบ และไม้แบบ
  • หมวดงานสถาปัตยกรรม ประกอบไปด้วยงานหลังคา งานพื้น ผนัง ประตู และหน้าต่าง รวมไปถึงงานทาสี เช่น กระเบื้องหลังคา พื้นผิวซีเมนต์ ผนังคอนกรีต และงานตกแต่งบันได
  • หมวดงานระบบวิศวกรรม ประกอบไปด้วย ระบบประปา ระบบสุขาภิบาล ระบบงานไฟฟ้า ระบบงานเดินท่อ ระบบอากาศ ระบบงานเกี่ยวกับเครื่องจักกล เป็นต้น
  • หมวดงานอื่น ๆ (ถ้ามี) 


6. Selection

สำหรับการเลือกผู้รับเหมาควรเลือกมีประสบการณ์ในการสร้างโรงงานก่อนเป็นอันดับแรก เพราะโครงสร้างโรงงานนั้นแตกต่างจากอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป ผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ในการสร้างโรงงานจึงเป็นทางเลือกที่น่าไว้วางใจมากกว่า โดยสถาปนิกควรเป็นผู้ที่แนะนำผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์มานำเสนอแก่ลูกค้าเพื่อตัดสินใจ ซึ่งแม้ว่าผู้รับเหมาที่รับสร้างโรงงานโดยตรงจะมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างค่อนข้างสูง แต่คุ้มค่าในการลงทุนในระยะยาวที่ไม่ต้องกังวลถึงปัญหาด้านโครงสร้างในอนาคต ไม่แก้ปัญหาจุกจิก ที่ผู้รับเหมาที่ไม่มีประสบการณ์อาจดำเนินการพลาด


7. Construction

เมื่อเลือกผู้รับเหมาเสร็จแล้วขั้นตอนนี้จะคล้ายคลึงกับการสร้างบ้านเช่นกัน สถาปนิกมีหน้าที่ให้คำแนะนำและแก้ปัญหาต่าง ๆ ระหว่างการก่อสร้าง เพื่อให้งานนั้นแล้วเสร็จตามกำหนดในเอกสารสัญญา รวมทั้งตรวจสอบระบบวิศวกรรมต่าง ๆ ว่าถูกต้องตามแบบหรือไม่

  • ตรวจสอบการปฏิบัติงานในส่วนของผู้รับจ้างก่อสร้าง ณ สถานที่ทำการก่อสร้างแบบเป็นครั้งคราวเพื่อรายงานแก่ลูกค้า
  • ให้คำแนะนำสำหรับผู้รับจ้างก่อสร้าง เพื่อให้การก่อสร้างนั้นสามารถดำเนินงานไปได้ด้วยความเรียบร้อย
  • ให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ควบคุมงาน เพื่อให้การก่อสร้างดำเนินตามความประสงค์ของการออกแบบและเอกสารสัญญา
  • ตรวจและอนุมัติแบบในการใช้งาน รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนตัวอย่างที่ผู้รับจ้างก่อสร้างนำมาเสนอ

FU LU SHOU ไม่เพียงเชี่ยวชาญในการออกแบบบ้าน คอนโด หรืออสังหาริมาทรัพย์ทั่วไป แต่ยังเชี่ยวชาญในการออกแบบโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ หากเจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบปาร หรือนักลงทุนที่กำลังต้องการสร้างโรงงาน FU LU SHOU พร้อมรับออกแบบและวางระบบโรงงานอย่างครบวงจร พร้อมออกแบบตามศาสตร์ฮวงจุ้ยเพื่อกิจการที่รุ่งเรือง โดยทีมงานคุณภาพมากประสบการณ์

เครดิต:proindsolutions

steelframebuilt

ofm