หลายคนเคยสงสัยกันบ้างมั้ยว่ากว่าจะเป็นบ้านหนึ่งหลังนั้นออกแบบอย่างไร? สถาปิกที่ทำหน้าที่ออกแบบบ้านนั้นจะมีขั้นตอนในการทำงานแบบไหน? เพราะการออกแบบบ้านที่หลายคนอาจจะมองแค่ว่าเป็นการเขียนขีดสิ่งที่อยากให้มีในบ้านก็สามารถส่งต่อให้ผู้รับเหมาทำงาน
ได้แล้ว เป็นความเข้าใจที่ผิดและอาจส่งผลกระทบกับตัวบ้านในอนาคต ทั้งปัญหาทรุด บ้านพัง และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งสถาปนิกนั้นมีหน้าที่ในการออกแบบให้ตรงกับโจทย์ความต้องการ คำนวณน้ำหนักและวัสดุที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ รวมทั้งทิศทางลม และแสงแดดที่เหมาะสมอีกด้วย
กระบวนการออกแบบบ้านแบบฉบับสถาปนิกนั้น มี 7 ขั้นตอน
1. Research
สถาปนิกจะต้องศึกษาข้อมูลความต้องการโดยรวมของลูกค้า และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เช่น สถานที่ตั้งเหมาะสมกับประเภทสิ่งปลูกสร้างที่ลูกค้าต้องการหรือไม่ ข้อบังคับกฏหมายการสร้างอาคาร กฎหมายผังสีผังเมือง
สภาพแวดล้อม การใช้ประโยชน์ ที่ดิน เป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับให้คำปรึกษาและเพื่อการดำเนินการขออนุญาตในการก่อสร้างในขั้นตอนต่อไป
- ก่อนดำเนินการสร้างบ้านหรืออาคารต่าง ๆ จะต้องมีการดำเนินการออกแบบต่าง ๆ ในพื้นที่ซึ่งเป็นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
- กฎหมายผังสีผังเมือง ข้อกฎหมายที่ควบคุมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยใช้ผังสีเพื่อกำหนดพื้นที่ประเภทของสิ่งก่อสร้าง เช่น บ้าน อาคาร โรงงาน อาคารสาธารณะ ให้เป็นระเบียบและเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
2. Concept
สถาปนิกจะต้องพูดคุยเพื่อรวบรวมไอเดียและความต้องการของลูกค้า พร้อมทั้งให้คำแนะนำสำหรับคอนเซ็ปต์ของบ้านที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์หรือความชอบของลูกค้า รวมทั้งให้คำปรึกษาเรื่องการแบ่งโซนต่าง ๆ ในบ้านเพื่อให้บ้านที่ลูกค้าต้องการมีทั้งความสวยงามและสามารถใช้งานได้จริง
การแบ่งโซนบ้าน
- โซนสาธารณะ เช่น โถงทางเข้า ห้องรับแขก ห้องทานอาหาร โซนพื้นที่ใช้สอยซึ่งทุกคนในบ้านรวมทั้งแขกที่มาบ้าน จึงจัดวางในแบบบ้านควรให้อยู่บริเวณด้านหน้าสุดของตัวบ้านจากประตูทางเข้า
- โซนกึ่งสาธารณะ เช่น ห้องนั่งเล่น ห้องพระ หรือ ห้องน้ำ โซนพื้นที่สำหรับคนในบ้านและคนสนิท จึงควรเชื่อมโยงหรืออยู่ติดกับโซนสาธารณะ
- โซนพื้นที่เป็นส่วนตัว เช่น ห้องนอน ห้องทำงาน หรือห้องเก็บของ พื้นที่ส่วนตัวที่ควรจัดวางให้อยู่ห่างจากโซนสาธารณะมากที่สุด
3. Final Design
เมื่อได้ข้อสรุปของคอนเซ็ปต์งานแล้ว สถาปนิกต้องนำเสนองานออกแบบในเบื้องต้นเพื่อรับคอมเมนต์จากลูกค้าและกลับไปแก้ไขเพื่อทำ Final Design สำหรับนำเสนอลูกค้าอีกครั้ง ซึ่งในการนำเสนองานออกแบบนั้นจะลูกค้าจะเห็นภาพโดยรวมทั้งหมด เช่น การออกแบบภายนอก-ภายใน ระยะห่างอาคาร ความสูง ทัศนียภาพโดยรอบ เป็นต้น เพื่อให้ลูกค้าทำการ Approved ก่อนดำเนินการการในขั้นตอนการขออนุญาตการก่อสร้างต่อไป
4. Drawing
หลังจากงานดีไซน์ Approved สถาปนิกจะอ และจัดทำรายละเอียดเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการขออนุญาตก่อสร้างที่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ ข้อกำหนดของท้องถิ่น และองค์กรณ์ท้องถิ่นควบคุม รวมทั้งรายละเอียดของการก่อสร้าง และรายการประกอบแบบ
- แบบแปลนบ้านใช้สำหรับการขออนุญาตก่อสร้าง
- แบบแสดงถึงผังบริเวณและระบบสาธารณูปโภคในส่วนภายนอกอาคาร
- แบบแสดงถึงแปลนทุกชั้น
- แบบแสดงถึงรูปด้านทั้งหมด 4 ด้าน
- แบบแสดงถึงรูปตัดอย่างน้อยจำนวน 2 รูป
- แบบแสดงถึงรายละเอียดและแบบขยายต่างๆ
- แบบวิศวกรรมโครงสร้าง รายละเอียด และรายการคำนวณสำหรับการขออนุญาตก่อสร้าง
- รายการประกอบแบบของการก่อสร้างทุกงาน (งานสถาปัตย์และวิศวระบบต่างๆ) อย่างละเอียด
- เอกสารประมาณราคากลางสำหรับค่าก่อสร้างอย่างละเอียด
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่แต่ละวิชาชีพ
สำหรับการสร้างบ้านที่มูลค่าอยู่ในเกณฑ์ที่กฏหมายกำหนดจะใช้วิศวกรรมไฟฟ้า, วิศวกรรมโยธา, เท่านั้น แต่ถ้าโครงการที่มีขนาดใหญ่ หรือมีฟังชั่นการใช้งานที่ซับซ้อน ก็ต้องมีทีมวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องในส่วนอื่นๆเข้ามาร่วมในโครงการ ก็จะเพิ่มขึ้นตามรายละเอียดการก่อสร้าง เช่น การสร้างโรงงาน อาคารตึกสูง โครงการบ้าน อาคารสาธารณะ ฯลฯ ค่าบริการวิชาชีพวิศวกรรม จะถูกคิดรวมกับค่าออกแบบแล้ว
- วิศกรรมโยธา (Structural Engineer)
ทำหน้าที่ออกแบบโครงสร้างให้แข็งแรงและสามารถก่อสร้างได้จริงตามที่สถาปนิกได้ออกแบบไว้ - วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineer)
ทำหน้าที่ออกแบบระบบไฟฟ้าทั้งหมดของบ้าน ตามความต้องการของบ้านที่ออกแบบไว้ - วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineer)
ทำหน้าที่ ออกแบบระบบสุขาภิบาล ระบบน้ำเสีย ระบบระบายน้ำฝน และระบบที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม - วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanica Engineer)
ทำหน้าที่ออกแบบระบบปรับอากาศ ระบายอากาศ ระบบดับเพลิงลิฟต์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ และออกแบบจัดระบบกลไกภายในบ้านให้เข้ากับอุปกรณ์นั้น ๆ ได้ รวมถึงให้คำปรึกษาในการเลือกซื้อปุกรณ์ต่างๆ - สถาปนิก (Architect)
ทำหน้าที่ศึกษาความเป็นไปได้โครงการ ความต้องการของเจ้าของอาคาร และออกแบบวางผังอาคาร ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพื้นที่นั้น ๆ ให้คำแนะนำกับเจ้าของโครงการ และประสานงานกับวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างการคำนวณค่าบริการวิชาชีพ
งบประมาณในการสร้างบ้าน 15,000,000 บาท คิดดังนี้
10,000,000 บาท | x 7.50% | = 750,000 บาท |
งบประมาณ | อัตราค่าออกแบบ | ราคางานออกแบบ |
ราคาค่าบริการวิชาชีพที่กล่าวไว้เป็นเพียงค่าพื้นฐาน จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชปถัมภ์(asa)
ที่ใช้เป็นแนวทางให้ลูกค้าและสถาปนิกเข้าใจร่วมกันเท่านั้น แต่ไม่ใช่ข้อกำหนดทางกฎหมาย
เพราะค่าบริการวิชาชีพสามารถมากหรือน้อยกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ได้
เนื่องจากอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆปัจจัยอื่น
5. BOQ (Bill of Quantities)
เอกสาร BOQที่เป็นราคากลางเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับเจ้าของบ้านและสำหรับคัดเลือกผู้รับเหมา โดยแสดงในแต่ละหมวดสำหรับการก่อสร้างดังนี้
- หมวดงานดินและการเตรียมงาน แสดงค่าใช้จ่ายในการเตรียมการก่อสร้าง เช่น การปรับพื้นที่หน้าดิน หรือการรื้ออาคารเก่า
- หมวดงานโครงสร้าง แสดงรายละเอียดและปริมาณงานโครงสร้างทั้งหมด เช่น คอนกรีตโครงสร้าง คอนกรีตหยาบ และไม้แบบ
- หมวดงานสถาปัตยกรรม ประกอบไปด้วยงานหลังคา งานพื้น ผนัง ประตู และหน้าต่าง รวมไปถึงงานทาสี เช่น กระเบื้องหลังคา พื้นผิวซีเมนต์ ผนังคอนกรีต และงานตกแต่งบันได
- หมวดงานระบบ ประกอบไปด้วยงานประปาและสุขาภิบาล งานไฟฟ้า และงานเดินท่ออากาศ
- หมวดงานอื่น ๆ (ถ้ามี)
6. Selection
สำหรับในการคัดเลือกผู้รับเหมานั้นนอกจากจะต้องคำนึงถึงเรื่องราคาที่ตกลงแล้วต้องดูความถนัดงานของผู้รับเหมาแต่ละเจ้าอีกด้วย ซึ่งสถาปนิกส่วนใหญ่มักจะมีคอนแทคกับผู้รับเหมาอยู่แล้ว และสามารถแนะนำผู้รับเหมาที่เหมาะกับงานก่อสร้างในแต่ละสไตล์ได้เป็นอย่างดี โดยอาจจะคัดเลือกผู้รับเหมาที่เหมาะกับงาน 3 – 4 เจ้าเพื่อนำเสนอให้ลูกค้าพิจารณารายละเอียดต่าง ๆ ก่อนตกลงเซ็นสัญญาจ้างผู้รับเหมา
7. Construction
เมื่อตกลงเลือกผู้รับเหมาเสร็จแล้ว ในขั้นตอนการก่อสร้างสถาปนิกมีหน้าที่ให้คำแนะนำและแก้ปัญหาต่าง ๆ ระหว่างการก่อสร้าง เพื่อให้งานนั้นแล้วเสร็จตามกำหนดในเอกสารสัญญา
- ตรวจสอบการปฏิบัติงานในส่วนของผู้รับจ้างก่อสร้าง ณ สถานที่ทำการก่อสร้างแบบเป็นครั้งคราวเพื่อรายงานแก่ลูกค้า
- ให้คำแนะนำสำหรับผู้รับจ้างก่อสร้าง เพื่อให้การก่อสร้างนั้นสามารถดำเนินงานไปได้ด้วยความเรียบร้อย
- ให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ควบคุมงาน เพื่อให้การก่อสร้างดำเนินตามความประสงค์ของการออกแบบและเอกสารสัญญา
- ตรวจและอนุมัติแบบในการใช้งาน รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนตัวอย่างที่ผู้รับจ้างก่อสร้างนำมาเสนอ
ทั้ง 7 ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการทำงานจริงของสถาปนิก โดยใช้เวลาขั้นต่ำประมาณ 2 เดือนถึงจะเสร็จสมบูรณ์ การสร้างบ้านโดยสถาปนิกมืออาชีพนั้นจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว บ่งบอกความเป็นตัวตนของเจ้าของบ้านได้เป็นอย่างดี รวมทั้งฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบโจทย์ และถูกต้องตามหลักของศาสตร์ฮวงจุ้ยสอดคล้องกับทิศทางลมและแสงแดดเพื่อความเป็นสิริมงคลของการอยู่อาศัย
อยากได้บ้านสวยถูกใจแถมยังถูกโฉลก เพราะะ FU LU SHOU รับออกแบบบ้านโดยสถาปนิกมืออาชีพ พร้อมรับออกแบบบ้านตามศาสตร์ฮวงจุ้ยบ้านของจีนอย่าเชี่ยวชาญ อยากมีบ้านปัง ๆ จัดบ้านแล้วรวย รีบมาปรึกษา FU LU SHOU Architecture เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ซินแส บริษํทรับออกแบบบ้านที่เชี่ยวชาญการออกแบบบ้านตามหลักฮวงจุ้ยที่ดีที่สุด ตอบโจทย์ทุกเรื่องสำหรับการออกแบบบ้าน โดยทีมงานคุณภาพมากประสบการณ์
เครดิต: chi